ประเภทของผ้าไหม

…. ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ทอจากเส้นไหมซึ่งเป็นใยธรรมชาติที่แข็งแรงที่สุด มีความมันวาว ดูแล้วสวยงามแตกต่างจากผ้าที่ทอด้วยเส้นใยชนิดอื่น และเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างยิ่งของประเทศไทย และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันเพราะ ประเทศไทยส่งออกผ้าไหมมูลค่าปีละประมาณ 500 ล้านบาท (ตารางที่ 4) ซึ่งคิดเป็น 40 % ของปริมาณผ้าไหมที่ผลิตส่วนอีก 60% ของผ้าไหมไทยจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไปในประเทศ ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวม 8000 – 1,000 ล้านบาท จากการสำรวจพบว่ามีโรงงานทอผ้าไหมขนาดใหญ่ และขนาดเล็กจำนวนประมาณ 70 โรง และมีจำนวนร้านค้าผ้าไหมภายในประเทศมากกว่า 500 แห่ง
การผลิตผ้าไหมไทยเป็นการแสดงออกถึงศิลปพื้นบ้าน และเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ทอในแต่ละภูมิภาค จะมีเอกลักษณะเฉพาะของตนเอง ทำให้ผ้าไหมไทยมีความหลากหลายในตัวเอง ทั้งทางด้านกรรมวิธีการทอลวดลายและรูปแบบของผ้าซึ่งเอกลักษณ์ต่างๆ เหล่านี้ สามารถใช้เป็นตัวกำหนดถึงแหล่งของการผลิตได้ ประเภทของผ้าไหมที่ทอพื้นบ้าน ถ้าหากแบ่งตามกรรมวิธีการทอสามารถแบ่งได้ดังนี้
เป็นผ้าไหมที่ทอลายขัดโดยใช้เส้นยืน เส้นพุ่มธรรมดาตลอดกันทั้งผืน ผ้าที่ออกมาจะเป็นผ้าสีพื้นเรียบ ไม่มีลายโดยใช้เส้นยืนและเส้นพุ่งเป็นสีเดียวกันหรือใช้สีต่างกันก็ได้ เป็นผ้าที่นิยมใช้กันทั่วไป ซึ่งผ้าไหมไทยที่ส่งออกต่างประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมสินค้าไหมไทยได้กำหนดมาตราฐาน โดยแบ่งผ้าไหมเป็น 6 ชนิด คือ
     1. ผ้าไหมไทยชนิดบางมาก (Light Weight)
     2. ผ้าไหมไทยชนิดบาง (Medium Weight)
     3. ผ้าไหมไทยชนิดหนา (Heavy Weight)
     4. ผ้าไหมไทยชนิดหนามาก (Extra Heavy Weight)
     5. ผ้าไหมไทยชนิดหนาพิเศษ (Drapery Weight)
     6. ผ้าไหมไทยชนิดหนามากพิเศษ (Upholstery Weight)

 

                                              การผลิตสามารถผลิตไหมออกเป็น 2 ประเภท

1. ไหมหัตถกรรม
          เกษตรกรเลี้ยงไหมพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ไทยลูกผสม โดยรับไข่ไหมจากทางราชการหรือเกษตรกรต่อสายพันธุ์เอง เป็นการเลี้ยงไหมที่เกษตรกรจะสาวเส้นไหมและทอผ้าเองในครัวเรือน บางส่วนอาจจำหน่ายตั้งแต่ขั้นตอนรังไหม มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรประมาณ 160,000 ราย ให้ผลผลิตเป็นรังไหมสีเหลือง สำหรับผลผลิตเส้นไหมของเกษตรกรกลุ่มนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 75 ของผลผลิตเส้นไหมทั้ประเทศ

2. ไหมอุตสาหกรรม
          เกษตรกรเลี้ยงไหมพันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ โดยใช้ไข่ไหมที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ให้ผลผลิตเป็นรังไหมสีขาว แล้วจำหน่ายให้แก่โรงสาวไหมของเอกชนในรูปแบบของสมาชิกโรงสาว มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรประมาณ 5,000 ราย ซึ่งเกษตรกรสามารถเลี้ยงไหมได้ปีละ 8-10 ครั้ง สำหรับผลผลิตเส้นไหมของเกษตรกรกลุ่มนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของผลผลิตเส้นไหมทั้งประเทศ

ใส่ความเห็น